วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิฐมอญตันมือ,อิฐมอญรูเครื่อง,(อิฐข้างลาย),โรงงานอิฐ โรงงานอิฐมอญ โรงงานอิฐแดง โรงงานอิฐอยุธยา โรงงานอิฐบางบาล โรงงานอิฐอ่างทอง โรงงานอิฐพานทอง โรงงานอิฐนครปฐม โรงงานอิฐสิงห์บุรี โรงงานอิฐไทย โรงงานอิฐชัยนาท โรงงานอิฐตัน โรงงานอิฐรู โรงงานอิฐบล็อก โรงงานอิฐชลบุรี


อิฐมอญ, อิฐแดง,อิฐมอญตัน, อิฐมอญตันมือ,อิฐมอญรูเครื่อง,(อิฐข้างลาย)
อิฐมอญรูเครื่องใหญ่ 2รู,อิฐมอญ มอก ,อิฐบล็อก, อิฐมอญลาย,ขายอิฐมอญ ,
จำหน่ายอิฐมอญ,ซื้ออิฐมอญ,อิฐตัน,อิฐรู,อิฐจัดสวน,อิฐโบราณ,อิฐก่ออาคาร

งอบงามวิจิตร อิฐทนทาน มันเทศหอมหวาน งามตระการบ้านทรงไทย เมืองชัยพระเจ้าตาก
โรงงานอิฐ โรงงานอิฐมอญ โรงงานอิฐแดง โรงงานอิฐอยุธยา โรงงานอิฐบางบาล โรงงานอิฐอ่างทอง โรงงานอิฐพานทอง โรงงานอิฐนครปฐม โรงงานอิฐสิงห์บุรี โรงงานอิฐไทย โรงงานอิฐชัยนาท โรงงานอิฐตัน โรงงานอิฐรู โรงงานอิฐบล็อก โรงงานอิฐชลบุรี

อิฐมอญตัน อิฐรูเครื่อง อิฐรูใหญ่เครื่อง สำหรับก่ออาคารบ้านเรือน และเป็นอิฐที่ได้รับความนิยมมาโดยตลอด เพราะเป็น อิฐ ที่ทนทาน




อิฐ ชุมชนบ้านบางเดื่อ ได้มีการผลิตเพื่อตอบสนอง การก่ออารคาร บ้านที่อยู่อาศัยทั้งในกรุงเทพ ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง และปริมณฑล อีกทั้งนำมาเพื่อใช้ตกแต่งสวนนั่งเล่น ซึ่งจะให้ความรู้สึกเป็นธรรมชาติ สบายตาควรค่าเมื่อยามพักผ่อน





ทดสอบแรงตก (DROP TEST). 1.5 เมตร ผล OK.

วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ

อิฐ ชุมชนบ้านบางเดื่อ

อิฐมอญ, อิฐแดง,อิฐมอญตัน, อิฐมอญตันมือ,อิฐมอญรูเครื่อง,(อิฐข้างลาย)

อิฐมอญรูเครื่องใหญ่ 2รู,อิฐมอญ มอก ,อิฐบล็อก, อิฐมอญลาย,ขายอิฐมอญ ,

จำหน่ายอิฐมอญ,ซื้ออิฐมอญ,อิฐตัน,อิฐรู,อิฐจัดสวน,อิฐโบราณ,อิฐก่ออาคาร

,จากโรงงานผู้ผลิต,หากสั่งซื้อจำนวนมากเราลด ราคาอิฐ ให้อีก

โรงงานอิฐ,โรงงานอิฐมอญ,โรงงานอิฐแดง,โรงงานอิฐอยุธยา,โรงงานอิฐบางบาล ,โรงงานอิฐอ่างทอง,โรงงานอิฐพานทอง,โรงงานอิฐนครปฐม,โรงงานอิฐสิงห์บุรี ,โรงงานอิฐไทย,โรงงานอิฐชัยนาท,โรงงานอิฐตัน,โรงงานอิฐรู,โรงงานอิฐบล็อก,โรงงานอิฐชลบุรี

ติดต่อ คุณเต้

Tel.087-3710238 , 083-6094720

Fax:035-302-053

E-mail:wattanasangdao@gmail.com


 Tag :อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


อิฐมอญเป็นวัสดุที่ทำขึ้นจากการทำดินเหนียวให้เป็นก้อนสี่เหลี่ยมนำไปตากให้แห้งแล้วจึง นำไปเผาที่อุณหภูมิสูง อิฐมอญเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีราคาถูกและนิยมใช้ในการก่อสร้างอาคารต่างๆ เช่นวัด ปราสาทราชวัง เจดีย์และสถูป มีการใช้อิฐมอญก่อสร้างอาคารมาตั้งแต่ยุคโบราณดังจะเห็น ว่ามีโครงสร้างในยุคโบราณในหลายประเทศทำด้วยอิฐมอญ ส่วนในประเทศไทยก็มีวัด เจดีย์ต่างๆ ในเมืองโบราณ เช่น ที่กรุงสุโขทัย และกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น อิฐมอญเป็นวัสดุก่อสร้างที่มี คุณสมบัติดีมีความทนทานต่อสภาพดินฟ้าอากาศในประเทศไทยและสามารถผลิตได้ในทุกภาคของ ประเทศ แหล่งผลิตอิฐมอญที่เป็นที่รู้จักในภาคกลางอยู่ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัด อ่างทองและมีผลิตบ้างในจังหวัดใกล้เคียง ในภาคตะวันออกมีการผลิตอิฐมอญที่อำเภอพานทอง และอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี ทั้งนี้เพราะพื้นที่ทั้งสองอำเภอดังกล่าวเป็นแหล่งที่มีวัตถุดิบดิน เหนียวที่เหมาะสำหรับการใช้ผลิตอิฐมอญ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกจะเป็นพื้นที่มีดิน เป็นลักษณะดินปนทราย

โครงงานนี้เป็นการศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและคุณสมบัติเชิงกลของอิฐมอญที่ผลิตใน จังหวัดชลบุรีซึ่งผลิตที่อำเภอพานทองและอำเภอพนัสนิคม ในการศึกษาคุณสมบัติของอิฐมอญที่ ผลิตในจังหวัดชลบุรีประกอบด้วย การทดสอบคุณสมบัติความหนาแน่นของอิฐมอญ คุณสมบัติ ความชื้นของอิฐมอญ การทดสอบคุณสมบัติการดูดซึมน้ำ การทดสอบกำลังอัดของอิฐมอญ และการ ทดสอบแรงดัด ผลการศึกษาพบว่าอิฐมอญที่ผลิตในจังหวัดชลบุรีมีคุณสมบัติดี สามารถใช้แทนอิฐ มอญที่ผลิตในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาและจังหวัดอ่างทองได้

คำสำคัญ: อิฐมอญ , การก่อสร้าง , ความหนาแน่น , ความชื้น , การดูดซึมน้ำ , กำลังอัด , กำลังดัด

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


อิฐ สืบสานสิ่งก่อสร้าง

อิฐนับเป็นหนึ่งในสิ่งประดิษฐ์ของมนุษย์ที่สามารถนำมาบอกเล่าเรื่องราวในอดีตได้เป็นอย่างดี เป็นเวลากว่า 2,000 ปีมาแล้วที่มนุษย์รู้จักการนำดินโคลนจากแม่น้ำมาทำเป็นอิฐสำหรับงานการก่อสร้าง โดยอียิปต์ถือเป็นชาติแรกที่รู้จักวิทยาการนี้

สำหรับประเทศไทยเริ่มมีการนำมาใช้เป็นส่วนประกอบสำคัญในการก่อสร้างเมื่อราวปี พ.ศ . 1100 ซึ่งขณะนั้นชนชาวขอมที่เข้ามามีอำนาจอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิเป็นผู้ริเริ่มนำอิฐมาใช้

ราวพุทธศตวรรษที่ 11-16 สมัยทวารวดี ก็ได้ขุดพบอิฐในงานก่อสร้างสถาปัตยกรรมรูปทรงเจดีย์อยู่มากมายและได้รับการสานต่อสืบมาจนถึงสมัยสุโขทัยหลักฐานที่ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ก็ได้แก่ ซากโบราณสถานต่าง ๆ อาทิ พระราชวัง เจดีย์ตลอดจนพระพุทธรูป ซึ่งถือเป็นงานศิลปะที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของยุคที่ทรงคุณค่ายิ่งเข้าสู่สมัยอยุธยา การทำอิฐขึ้นใช้ในงานก่อสร้างยังคงได้รับความนิยมอยู่ และดูจะเพิ่มมากขึ้นกว่ายุคสมัยที่ผ่าน ๆ มาเสียอีกเนื่องจากมีการพัฒนาบ้านเมืองในรูปของสิ่ง ปลูกสร้างมากมาย ทั้งในส่วนของพระบรมมหาราชวัง อาคาร โดยเฉพาะวัดอันเป็น พุทธสถานสำคัญมีปรากฏให้เห็นมากเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงยึดถือเป็นประเพณีที่ต้องมีวัดประจำรัชกาล

ความต้องการใช้อิฐที่เพิ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเเละตลอดเวลา ทำให้คนไทย ซึมซับเอาวิทยาการแขนงนี้เข้าสู่สายเลือดโดยไม่รู้ตัว จนกล่าวได้ว่าหากเป็นชาวอยุธยาแล้วแทบไม่มีผู้ใดเลยที่เลยที่ไม่สัมผัสหรือพบเห็นงานทำอิฐมาก่อน

อิฐมอญ ภูมิปัญญาชาวบางบาล

การทำอิฐนับเป็นในหลาย ๆ อาชีพมีแต่โบราณ โดยสืบทอดมาจากคนรุ่น ก่อน ๆ แม้บางช่วงจะประสบกับปัญหาและอุปสรรคมากมาย จนหลายรายต้องละทิ้งอาชีพนี้ไปหาอาชีพใหม่ หากมีจำนวนไม่น้อยที่ต่อสู่และฝ่าฟันปัญหาอย่างไม่ท้อถอย ยังผลให้กลไกการสืบสานภูมิปัญญาของบรรพชนดำเนินต่อไป

ผลของความอดทนและยึดมั่นในอาชีพทำอิฐนี้ส่งผลให้ผู้ประกอบการบางรายหรือบางครอบครัวร่ำรวยกลายเป็นเศรษฐีไปแล้วก็มาก โดยเฉพาะช่วงที่เศรษฐกิจของประเทศเจริญมาก ๆ อย่างในปี พ.ศ. 2536 – 2539 ซึ่งความต้องการใช้อิฐมีมากจนกำลังการผลิตที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ

แหล่งผลิตอิฐที่สำคัญของไทยในปัจจุบัน ส่วนใหญ่อยู่ในบริเวณที่ราบลุ่ม ภาคกลาง เช่น จังหวัดราชบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง ปทุมธานีและนนทบุรี โดยผู้ผลิตจะรวมกันเป็นกลุ่ม ๆ แต่ละกลุ่มมีผู้ประกอบการตั้งแต่ 50 รายไปจนถึง 500 ราย ซึ่งอาจขยายตัวเพิ่มขึ้นหรือลดลงบ้างตามปัจจัยที่เป็นผลกระทบ อาทิ ความต้องการใช้อิฐลดลง ราคาวัตถุดิบสูงขึ้นสถานที่ดังเช่นใกล้หรือไกลแหล่งวัตถุดิบ

ที่บ้านสีกุก ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นับเป็นแหล่งผลิตอิฐแห่งใหญ่อีกแห่งหนึ่ง โดยมีผู้ผลิตรวมกลุ่มกันอยู่หนาแน่นนับร้อยครัวเรือน มีโรงเผาอิฐทั้งขนาดเล็กและใหญ่เรียงตลอดสองฟากทาง

นายประเสริฐ ศักดิ์ คนทำอิฐย่านบ้านสีกุก ตำบลพระขาว อำเภอบางบาล เล่าว่ายึดอาชีพการทำอิฐมานาน เพราะเห็นว่าอาชีพนี้เป็นตัวของตัวเอง ไม่ต้องง้อใครมาก ทั้งภรรยาและบุตรก็มีความคิดเช่นเดียวกัน จึงทำอาชีพนี้เรื่อยมา แม้จะมีรายได้มากบ้างน้อยบ้างแต่ก็มีความสุขดี

การลงทุน

อาชีพการทำอิฐนับเป็นอาชีพที่ยั่งยืนคู่อำเภอบางบาลแห่งกรุงศรีอยุธยามา ช้านานแล้ว เจ้าของกิจการทำอิฐหลายรายกล่าวทำนองเดียวกันว่า หากคิดจะยึดอาชีพนี้ไม่ใช่เรื่องยาก ขอเพียงให้มีความตั้งใจจริงในการประกอบอาชีพเท่านั้น

หากเป็นผู้ที่ไม่มีพื้นฐานการทำอิฐมาก่อนเลย เริ่มแรกให้เข้าไปศึกษากระบวนการผลิตทั้งหมดจากกิจการที่ทำกันอยู่เพียง 2-3 ครั้งก็สามารถนำกลับมา ทำเองได้แล้ว

ด้านการลงทุน หากเป็นกิจการขนาดเล็ก คือ ผลิตอิฐครั้งละจำนวน 5,000- 6,000 ก้อน จะใช้ทุนโดยรวมไม่เกิน 50,000 บาท โดยทุนนี้จะเเบ่งเป็นค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น แบบพิมพ์ คราด จอบ เสียม พลั่ว รถเข็น เครื่องปั่นดิน ตลอดจนค่าโรงเผาอิฐ หลังคามุงจาก ขนาดกว้าง 4 วา ยาว 8 วา เป็นต้น

แต่หากไม่มีเงินก้อนสำหรับลงทุนมากขนาดนั้นก็สามารถลดทอนลงได้อีก อาทิตัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องทุ่นแรงประเภทเครื่องยนต์ออกไปซึ่งจะช่วยลดต้นทุน ไปได้ถึง 20,000 บาท หรือหากเงินทุนยังมีไม่พออีกก็สามารถหักค่าใช้จ่ายในส่วนของการสร้างโรงเผาอิฐซึ่งมีมูลค่าราว20,000 บาทออกไป โดยเมื่อถึงขั้นตอนการเผาอิฐก็ใช้วิธีเผากลางเเจ้งแทน

สำหรับผู้ผลิตที่ลงมือทำทุกอย่างด้วยมือและกำลังแรงกายที่มีอยู่นับตั้งแต่การขนดิน ย่ำดิน อัดพิมพ์แบบพิมพ์ไม้ จนถึงตาก เผา เพียงทุนเริ่มต้นแค่ 4,000-5,000 บาท ก็สามารถมีโรงทำอิฐเป็นของตนเองได้เช่นเดียวกัน

ที่สำคัญต้องมีคุณสมบัติที่ดีของคนทำอิฐ คือ อดทน ขยันและรู้จักประหยัด

วัสดุอุปกรณ์ในการทำอิฐ

เครื่องมือสำคัญในการทำอิฐ ส่วนใหญ่ผู้ประกอบการจะคิดประดิษฐ์ขึ้นใช้เองเพื่อประหยัด โดยนำวัสดุที่หาได้จากพื้นบ้านดัดแปลงต่อเติมเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ เว้นแต่ที่ทำไม่ได้เป็นเครื่องทุ่นแรงที่เป็นเครื่องจักรกลสำหรับเครื่องมือหลัง ๆ ได้แก่

ปุ้งกี๋ เมื่อก่อนสานด้วยหวายและไม้ไผ่ ต่อมาหวายและไม้ไผ่ขาดแคลนจึงหันมาใช้พลาสติกสานแทน บางทีก็ใช้ยางรถยนต์เก่าซึ่งได้รับความนิยมไม่แพ้กัน ใช้สำหรับงานโกยที่ต้องขนย้ายทั่วไป

เข่ง บางทีเรียกว่า หลัว ทำจากไม่ไผ่สาน งานที่ต้องใช้เข่งก็คือ ขนแกลบเพื่อนำมาผสมกับดินและงานขนอุปกรณ์ทั่วไป

พลั่ว ทำจากแผ่นเหล็ก มีไม้ไผ่เป็นด้าม ใช้ในการตักดิน แกลบ และคลุกเคล้าดิน แกลบ น้ำ ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

คราด ทำด้วยเหล็กเช่นเดียวกับพลั่ว แต่มีหลักต่างกันคือ มีหน้าเป็นซี่กลม ๆ 6 ซี่ ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่ทำด้าม ใช้สำหรับเกลี่ยแกลบให้ทั่วขณะเผาอิฐและงานโกย สิ่งต่าง ๆ

สทา ทำจากแผ่นไม้หรือแผ่นเหล็ก มีด้ามเช่นเดียวกับพลั่วและคราดใช้ในการครูดเศษดินบนลานให้โล่งเตียนหลังจากเก็บแท่งดินเข้าเตาเผาใหม่ในรุ่นต่อ ๆ ไป นอกจากนั้นยังใช้สำหรับงานครูด โกย และอื่น ๆ

ไม้ไสดินหรือไม้แซะดิน ใช้สำหรับปรับลานตากดินที่มีเศษดินจากการไส แท่งดินให้ได้รูปทรงตกหล่นอยู่จำนวนมาก โดยจะใช้ใม้ไสดินนี้ทำการไสดินออกจากลานเพื่อให้ลานดินสะอาด และเรียบร้อย

รถเข็น ทำขึ้นง่าย ๆ จากเศษไม้ที่เหลือใช้ เริ่มจากต่อส่วนของกระบะก่อน จากนั้นล้อรถจักรยานที่ไม่ใช้งานแล้วมาใส่ทำให้สะดวกในการไสลากขึ้น ประโยชน์ของรถเข็นก็คือใช้ในการขนย้ายดินจากกองเพื่อนำไปหมักและขนย้ายดินที่ปั่นจนได้ที่แล้วไปกองสำหรับอัดลงพิมพ์เป็นอิฐ

กระป๋อง ใช้สำหรับตักน้ำ ส่วนใหญ่ใช้ในขั้นตอนการผสมดิน และระหว่างการอัดดินใส่แบบพิมพ์

เครื่องปั่นดิน เดิมขั้นตอนการผสมดินสำหรับทำอิฐผู้ผลิตจะใช้วิธีย่ำด้วยเท้าจนส่วนต่าง ๆ เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน ทว่าเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีผู้คิดค้นเครื่องมือในการผสมดินที่ทันสมัยขึ้นมาใช้แทน เครื่องมือดังกล่าวเรียกว่าเครื่องปั่นดิน ขณะใช้งานมีเครื่องยนต์ขนาดกำลัง 9 แรงมาให้พลังงาน เป็นที่นิยมมากในปัจจุบันเพราะสามารถผสมดินได้ครั้งละมาก ๆ และใช้เวลาสั้นกว่าการผสมด้วยการย่ำจากแรงคน

โรงเผาอิฐ สมัยก่อนผู้ผลิตมักกันกลางแจ้ง เนื่องจากประหยัดต้นทุนในการสร้างโรงเผาอิฐ ข้อเสียก็คือ ไม่สามารถเผาอิฐในช่วงฤดูฝนได้ ภายหลังจึงได้สร้าง โรงเผาอิฐขี้น ลักษณะก็คือ เป็นโรงไม้หลังคาจากส่วนของหลังคามีลักษณะเป็นทรง จั่วสูง เชิงชนิดคาอยู่ระดับศีรษะ ไม่มีฝาด้านในใช้สำหรับเป็นที่เผาอิฐและเก็บอิฐ ทั้งชนิดที่เตรียมเผาและเผาสุกแล้ว

แบบพิมพ์ มีด้วยกัน 3 ชนิด แบบพิมพ์ไม้ ชนิดนี้สามารถทำขึ้นใช้เองได้ แบบ

พิมพ์โลหะ มีสองลักษณะคือ ทำจากเหล็กหรือสแตนเลส ราคาค่อนข้างสูง และ แบบพิมพ์พลาสติก ปัจจุบันได้รับความนิยมมากกว่าแบบพิมพ์ชนิดอื่น เนื่องจากมีราคาย่อมเยา สะดวกทนทานต่อการใช้งาน ที่สำคัญคืออิฐที่ได้จากแบบพิมพ์พลาสติกยังให้ความสวยงามไร้ตำหนิพอ ๆ กับพิมพ์โลหะชนิดสแตนเลส ซึ่งดีกว่าเเบบพิมพ์ไม้มาก

นอกจากนี้ยังมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกอื่น ๆ อีก อาทิ เครื่องไสดิน มีดปาดดิน ไม้ตบ ใช้สำหรับตกแต่งแท่งอิฐที่ได้จากพิมพ์ไม้ให้ได้รูปสวยงาม กระแตง สำหรับงานขนย้ายทั่วไป ติ้ว สำหรับนับจำนวนเวลาขนอิฐขึ้นรถในขั้นตอนการขาย แผงเหล็ก สำหรับกับความร้อนไม่ให้กระจายออกมานอกโรงเผาอิฐขณะทำการเผา เป็นต้น

มาตรวัดคุณภาพอิฐ

การทำอิฐให้ได้คุณภาพและมีต้นทุนต่ำ สิ่งสำคัญคือต้องรู้จักเลือกใช้วัตถุดิบที่เหมาะสมและอยู่ใกล้แหล่งผลิต วัตถุดิบที่ว่า ได้แก่ ดิน แกลบ น้ำ

ดินที่ใช้ทำอิฐคือ ดินเหนียว มีอยู่ดัวยกันหลายชนิด แต่ละชนิดจะให้คุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น ดินเหนียวปูน มีลักษณะเป็นดินที่มีธาตุปูนผสมอยู่มาก สังเกตจากดินมีสีออกขาวนวล เมื่อนำมาทำอิฐจะได้อิฐสีเหลืองอ่อน ไม่แดงเข้มสวยงาม ดินเหนียวแก่ มีความเหนียวมาก เมื่อกองทิ้งไว้นาน ๆ จะแข็งคล้ายหิน มีข้อเสียคือ เมื่อนำไปทำอิฐจะเกิดการรัดตัวจนแท่งอิฐบิดงอ ดินทั้งสองชนิดนี้ไม่นิยมนำมาทำอิฐ เนื่องจากมีคุณภาพต่ำ ทำให้อิฐขายไม่ได้ราคา

ดินเหนียวที่ได้รับความนิยม นำไปทำอิฐคือ ดินเหนียวปนทรายละเอียดเดิมผู้ผลิตจะได้ดินชนิดนี้จากใต้แม่น้ำ ปัจจุบันเปลี่ยนไปใช้ดินที่ได้จากบนบกที่มีคุณสมบัติเหมือนกันแทนเพราะสะดวกกว่าการลงไปเอาดินจากแม่น้ำขึ้นมา

แกลบ จัดเป็นส่วนผสมที่สำคัญในการทำอิฐ มีคุณสมบัติช่วยให้ดินเกาะกันแน่นทำให้อิฐที่ได้ไม่เปราะแตกหักง่าย แกลบนับเป็นตัวแปรสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้ต้นทุนการผลิตอิฐสูงและต่ำลง โดยหากเป็นฤดูเก็บเกี่ยวข้าว แกลบจะมีราคาถูกกว่าในช่วงอื่น ๆ เพราะแกลบมีจำนวนมาก หาซื้อได้ง่ายทั้งนี้ราคาของแกลบจะถูกกำหนดโดยพ่อค้าคนกลาง หรือเจ้าของโรงสีเป็นหลัก

น้ำ คุณสมบัติของน้ำในการผลิตอิฐก็คือ เป็นตัวประสานให้ดินและแกลบเข้ากันได้ดี ขณะทำการนวดดิน หรือปั่นดินสำหรับอัดลงพิมพ์ทำอิฐไม่มีส่วนผสมที่ตายตัว สำหรับผู้ผลิตที่ชำนาญสามารถรู้ได้โดยประสบการณ์ว่าจะต้องใช้น้ำมากหรือน้อยในการผสมเพื่อให้เกิดความพอดี

ก่อนจะเป็นอิฐ

นวดดิน ขั้นแรกเริ่มกันที่การกำหนดจำนวนก้อนอิฐที่ต้องการเสียก่อนจากนั้นจึงกำหนดสัดส่วนของวัตถุดิบที่จะต้องใช้ เช่นนี้ถ้าต้องการอิฐจำนวน 3,000 ก้อน จะต้องใช้ดินประมาณ 5 คันรถเข็น กับแกลบอีก 2 เข่ง ผสมลงในบ่อหมักขนาดความลึก 30- 40 เซนติเมตร กว้าง x ยาว 3 เมตร ที่เตรียมไว้ จากนั้นคลุกเคล้าให้เข้ากันโดยใช้น้ำช่วย

เมื่อสีดินกับแกลบกลมกลืนกันแล้ว สำหรับผลผลิตที่มีเครื่องปั่นดินให้ใช้พลั่วตักดินใส่ลงในเครื่องปั่นดิน แล้วปั่นต่อไปจนดินแหลกละเอียดเข้าเป็นเนื้อเดียวกับแกลบและเหนียวจนได้ที่

แต่ถ้าไม่มีเครื่องทุ่นแรงก็ใช้แรงคนย่ำต่อไปจนได้ดินที่มีลักษณะเนื้อเดียวกันซึ่งจะใช้เวลานานประมาณ1-2 ชั่วโมง แล้วแต่กำลังแรงคนเป็นสำคัญ

ในขั้นตอนการผสมดินและปั่นดินนี้สำหรับผู้ผลิตบางรายอาจใช้ขี้เถ้าจากแกลบซึ่งได้จากการเผาอิฐครั้งก่อน ๆ ผสมเข้าไปด้วยเพื่อให้อิฐมีน้ำหนักเบา แต่จะผสมไม่มากนัก เพราะถ้ามากเกินไปจะทำให้อิฐเปราะแตกหักง่าย

เมื่อได้ดินที่นวดจนได้ที่แล้วต้องนำไปอัดลงในพิมพ์ทันที เพราะถ้าปล่อยไว้นานเกินไปดินจะแห้งแข็งไม่สามารถอัดลงพิมพ์ได้ โดยก่อนลงมือพิมพ์จะต้องเก็บกวาดลานดินให้สะอาดเสียก่อน เพื่อป้องกันไม่ให้ก้อนอิฐเกิดตำหนิจากเศษดินที่ตกหล่นอยู่บนลาน

อัดดินลงพิมพ์ เพื่อความสะดวด หลังจากนวดดินจนได้ที่แล้วผู้ผลิตจะขนดินไปกองไว้เป็นจุดๆพร้อมกับเตรียมกระป๋องใส่น้ำ กระป๋องใส่ขี้เถ้าเเกลบ และเเบบพิมพ์ไว้ตามจุดนั้น ๆ ด้วย เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วจะเริ่มทำการอัดพิมพ์ทันที

สำหรับพิมพ์ชนิดไม้ ผู้ทำจะใช้วิธีวางพิมพ์ในแนวนอนชิดแนวเชือกที่ขึงไว้เป็นเขตแดน จากนั้นโรยขี้เถ้ารองพื้นเพื่อป้องกันไม่ให้แบบติดลานตากก่อนนำดินในกองอัดลงในแบบ ซึ่งสามารถอัดดินไว้ได้ครั้งละ 4-7 ก้อน ขึ้นอยู่กับแบบพิมพ์ จากนั้นซัดขี้เถ้าบาง ๆ ทับลงไปอีกชั้น ยกแบบพิมพ์ออก เท่านี้ก็จะได้แท่งดินที่มีลักษณะเป็นแท่งอิฐตามต้องการ

หากเป็นแบบพิมพ์โลหะหรือแบบพิมพ์พลาสติกเนื่องจากมีลักษณะเป็นบล็อกสี่เหลี่ยมขนาดเท่ากัน อิฐหนึ่งก้อนมี 4-6 ช่อง เวลาใช้จึงต้องหงายพิมพ์ขึ้น โรยขี้เถ้า ลงไปบาง ๆ จากนั้นนำดินเหนียวที่นวดได้ที่แล้วอัดลงไปจนแน่น ปาดหน้าให้เรียบแล้วคว่ำพิมพ์ลงบนลานดิน ยกพิมพ์ออก เท่านี้ก็จะได้แท่งดินที่มีผิวเนียนเรียบ เหลี่ยมมุม ไม่หักบุบบู้บี้ ต่างจากพิมพ์ไม้ที่ส่วนใหญ่ผิวและเหลี่ยมมุมของแท่งดินมักมีตำหนิ

ตากจนได้ที่ เมื่อได้แท่งดินที่มีรูปร่างเป็นอิฐจนเต็มลานแล้วจะตากแท่งดินไว้บนลานนานประมาณ 6-8 ชั่วโมง เพื่อให้ดินแห้งหมาด จากนั้นจะทำการตกแต่งแท่งดินให้ได้สัดส่วนยิ่งขึ้น ด้วยการใช้ไม้ตบเบา ๆ หรือใช้เครื่องไสมีดปาด สำหรับแท่งดินที่ทำจากแบบพิมพ์เสร็จแล้วตากต่อไปอีกประมาณ 2 วัน แต่หากแดดน้อยต้องเพิ่มเวลาให้นานขึ้นเป็น 3 วัน

คนทำอิฐจะใช้วิธีสังเกตเอาเองว่าแท่งดินที่ได้แห้งได้ที่หรือยัง ลักษณะของการแห้งได้ที่ก็คือ ผิวดินจะเป็นสีเทานวล จากนั้นจะขนแท่งดินใส่กระเตงลำเลียงไปเก็บไว้ในโรงเผาเพื่อเตรียมเผาให้สุกเป็นอิฐที่สมบูรณ์ต่อไป

เผาอิฐ ก่อนเผาจะต้องเรียงแท่งดินให้เรียบร้อยเสียก่อน วิธีการเรียงก็คือ วางแท่งดินสลับกันให้สูงขึ้นพอประมาณ โดยเปิดช่องด้านล่างไว้สำหรับให้ความร้อนผ่านเข้าไปได้ทั่วถึง

หลังจากเรียงแท่งดินเรียบร้อยแล้ว ใช้แท่งดินที่เหลือก่อเป็นกำแพงล้อมรอบอีกชั้นหนึ่งเพื่อควบคุมความร้อนไม่ให้กระจายออกไปภายนอกเตาเผา โดยกำแพงต้องมีความสูงกว่าแท่งดินที่อยู่ด้านในเล็กน้อย เสร็จแล้วนำแกลบมากลบแท่งดินภายในให้ทั่วเพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการเผา

ปริมาณของแกลบที่ใช้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวนของแท่งดินเป็นหลัก เช่น ในการเผาอิฐ 40,000-60,000 ก้อน จะใช้แกลบประมาณ 1 คันรถสิบล้อ แต่ถ้าอิฐมีมากถึง 100,000 ก้อน ก็จะต้องใช้แกลบมากถึง 2 คันรถสิบล้อ

เสร็จแล้วจุดไฟเผาได้ทันที โดยขุดจากด้านล่างจนรอบกองแท่งดินแกลบที่ ถูกไฟเผาลุกลามต่อเนื่องไปเรื่อย ๆ จนทั่วทั้งเตา ใช้เวลาในการเผาประมาณ 12-15 วัน

ระหว่างเผาต้องหมั่นตรวจตรา เกลี่ยและเติมแกลบอยู่เสมอ ๆ เพื่อให้ความร้อนแผ่กระจายอย่างทั่วถึง เพราะถ้าอิฐบางก้อนไม่ได้รับความร้อนเท่ากับอิฐอื่น ๆ จะทำให้อิฐไม่สุก คือมีสีดำ กลายเป็นอิฐไม่มีราคา หรือขายไม่ได้ นอกจากนี้ยังต้องระวังไฟลุกลามจนไหม้โรงเผาได้

อิฐที่มีราคา

อิฐที่มีราคาคือ อิฐที่มีคุณภาพเท่านั้น ลักษณะของอิฐที่ได้คุณภาพก็คือผิวเนียนเรียบไม่ขรุขระ เหลี่ยมมุมได้ฉาก สีสม่ำเสมอทั้งก้อน ไม่บิดงอแตกร้าวหรือหักง่าย เมื่อเคาะจะมีเสียงแกร่งคล้ายโลหะ หักดูภาพในเนื้อดินต้องไม่เป็นรูพรุน ขนาดและ น้ำหนักโดยเฉลี่ยเท่ากันทุกก้อน

การจำหน่ายอิฐจะคิดราคากันเป็นแท่ง ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด เป็นหลัก หากตลาดมีความต้องการสูงราคาก็จะสูงตาม แต่หากตลาดมีความต้องการ ลดน้อยลงราคาของอิฐก็จะตกตามไปด้วย เช่น ช่วงที่ความต้องการน้อย อิฐอาจมีราคาเพียงก้อนละ 15 - 17 สตางค์ แต่ถ้าเป็นช่วงที่ความต้องการมีมาก ราคาก็จะพุ่งสูงถึง ก่อนละ 30-50 สตางค์

ประโยชน์ที่ท้องถิ่นได้รับ

ชาวบ้านในอำเภอบางบาล ประกอบอาชีพการทำอิฐมอญกันมานาน ส่วนใหญ่สมาชิกในครอบครัวทุกคนล้วนเคยชินกับวิถีชีวิตนี้ นอกจากคนรุ่นใหม่ที่มีการศึกษาสูง จะเริ่มหันออกไปทำงานอื่นตามวิชาชีพที่เรียนมา

แต่ยังมีไม่น้อยที่ยึดอาชีพนี้เลี้ยงตนเองและครอบครัว ซึ่งหลายรายประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขณะเดียวกันก็สามารถสร้างงานในท้องถิ่นจากแรงงานของคนในพื้นที่ ตั้งแต่คนขนดินไปจนถึงขั้นตอนขนอิฐขึ้นรถล้วนต้องใช้แรงงานทั้งสิ้น ชาวบ้านส่วนหนึ่งในรายที่ไม่ได้เป็นเจ้าของโรงเผาจึงมีรายได้จากการรับจ้าง

 

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


ข้อดีข้อเสียของอิฐมอญ

ข้อดี

1. มีความแข็งแรงและทนทาน

2. มีความทึบเสียงสูง

3. ต้านทานต่อไฟไหม้สูง

4. เก็บรักษาอุณหภูมิภายในตัวโครงสร้างได้ดี

5. มีความสวยงามเนื่องจากสามารถที่จะนำมาก่อสร้างให้มีรูปแบบใดๆได้

6. มีราคาค่อนข้างถูกและค่าบำรุงรักษาต่ำ

7. ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมมากเท่าวัสดุชนิดอื่นๆ เช่น คอนกรีตและเหล็ก

ข้อเสีย

1. การวิเคราะห์และออกแบบที่ต้องการรายละเอียดที่สูงและถูกต้องทำได้ยาก

2. การก่อสร้างโครงสร้างอิฐก่อต้องใช้ฝีมือแรงงานที่มีคุณภาพสูง

 

วัตถุประสงค์

การศึกษาในรายวิชา โครงงานวิศวกรรม(Civil Engineering Project I) เรื่อง คุณสมบัติของ อิฐมอญที่ผลิตในจังหวัดชลบุรี มีวัตถุประสงค์หลัก ดังต่อไปนี้

1. เพื่อศึกษาและหาข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตอิฐมอญในจังหวัดชลบุรี

2. เพื่อศึกษาคุณสมบัติอิฐมอญที่ผลิตในจังหวัดชลบุรี ซึ่งทำจากวัสดุดินเหนียวที่มีความ แตกต่างจากวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตของแหล่งผลิตอื่นๆ

 

ขอบเขตของโครงงานวิศวกรรม

1. สำรวจ และรวบรวมตัวอย่างของอิฐดินเผาในจังหวัดชลบุรีแห่งละ100 ก้อน

2. ทดสอบหาคุณสมบัติทั้งทางกายภาพและเชิงกลของอิฐดินเผา จากตัวอย่างที่เก็บ

รวบรวมมาซึ่งประกอบด้วย การวัดขนาด(Measurement of Size) การทดสอบความ

หนาแน่น (Density of Brick) การทดสอบความชื้น (Moisture Content Test)

การทดสอบอัตราการดูดซึมน้ำ (Water Absorption Test) การทดสอบกำลังรับแรงอัด

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


วัตถุดิบ 1.ดินลูกรัง 2.ปูนซีเมนต์ 3.น้ำ

การเลือกดิน

ดินลูกรังที่มีส่วนละเอียดน้อย เช่นมีดินเหนียวไม่ 10 เปอร์เซนต์ ของน้ำหนัก ไม่มีเศษหญ้า รากไม้ ดินที่มีทรายหยาบและทรายละเอียดปนมากจะดีที่สุด เช่น ดินลูกรัง ดินแดง ดินปนทราย ดินขี้เป็ด หินฝุ่น หินชนวนผุ เศษศิลาแรง นำมาบดร่อนผ่านตะแกรงรูกว้าง 4มม. จากการวิจัยพบว่าสามารถใช้ดินที่มีอยู่ทั่วไปในประเทศไทย

การทดสอบคุณสมบัตทางกายภาพของดิน

1.ปริมาณความชื้นของดิน อยู่ระหว่าง 1.5-2.0%

2.การหดตัวทางความยาว ของดินลูกรังมีค่าไม่เกิน 1.0%

3.ค่าดรรนี(พิกัด)ความยืดหยุ่ม เป็น non-plastic

วิธีผสมวัคถุดิบ

1.บดดินลูกรังที่แห้งไม่เปียกชื้นให้ละเอียด ใช้ตะแกรงลวด 4 มม.โดยประมาณ ร่อน 2 ครั้ง หรือใช้เครื่องบดดิน บดแล้วใช้ได้เลย

2.ใช้ปริมาณดิน 7 ส่วน ต่อ ปูนซีเมนต์ 1 ส่วน คลุกให้เข้ากัน (เช่นใช้กระป๋องสี ตวง ดิน 7 แระป๋อง ต่อ ปูนซีเมนต์ 1 กระป๋อง)

3.ค่อยๆพรมน้ำและคลุกต่อจนดินชื้น(อย่าใส่น้ำจนดินเฉาะเป็นโคลน) ทดลองกำดินใรมือบีบให้แน่นจนแข็งเป็นก้อน ทิ้งดินลงพื้นโดยมีความสูงระดับไหล่ สังเกตุ ถ้าดินแตกเป็นก้อน 2-3 ก้อน แสดงว่าใช้ได้แล้ว

4.ตักใส่เครื่องอัดดินให้พูนเล็กน้อยแล้วปาดให้เสมอขอบเแครื่อง โดยใช้กระป๋องหรือภาชนะตวง เพื่อให้ปริมาณดินเท่ากันทุกก้อน

5.ปิดฝาเครื่อง โยกคานลงจนสุด แล้วโยกคานกลับเปิดฝา ดันก้นดินขึ้นจากเครื่อง หากก้อนดินไม่สาบูรณ์แบบก็สามารถนำไปอัดใหม่ได้

6.ยกก้อนดินออกมาวางเรียงกันบนพื้นที่เรียบและร่ม ทิ้งไว้ 1 วัน จึงนำไปวางเรียงซ้อนกันทิ้นไว้ ประมาณ 5 วัน สามารถนำไปใช้งานได้

การบ่มก้อนดินซีเมนต์

1.ยกดินที่อัดแล้วด้วยอุ้งมือ ทั้ง2ข้าง แล้วนำไปวางเรียงทิ้งไว้ในที่ร่ม

2.ปิดด้วยฟางหรือกระสอบป่าน ในกรณีอากาศร้อนมาก

3.12 ชั่วโมง หล้งจากนั้น ให้พรมน้ำจนทัวทุกก้อน หรือใช้ฝักบัวลดน้ำจนเปียกวันละ2-3ครั้ง หรือใช้กระสาบป่านชุบน้ำเปียกคลุมไว้แล้วรดน้ำให้ชุ่ม3วัน(ในกรณีอากาศร้อนแห้งมาก)

4.แล้วนำก้อนดินไปวางเรียงซ้อนกันเก็บไว้ในที่ร่ม วางทิ้งไว้7-14วันจึงนำไปใช้งาน

การนำไปใช้ก่อพนังอาคาร

1.เตรียมปรับพื้นให้เรียบ ขุดดินโดยรอบเพื่อที่จะทำคานคดดิน

2.ก่อปูนทรายแถวที่ 1 ให้ได้ระดับ โดยใช้ระดับน้ำเป็นหลัก

3.ใช้ก้อนดินซีเมนต์วางเรียวสลับแนวสูงประมาณ5ก้อนเป็นหลัก

4.กรอกน้ำปูนผสมทรายละเอียด ลงรูให้เต็มใช้เหล็กกระทุ้นให้น้ำปูนไหลให้เต็ม

5.เสร็จแล้วให้เรียงต่อขึ้นไป ปรับระดับแล้วทำเหมือนเดิมจนถึงระดับจันฑัน

6.จุดที่จะยีดจันฑันให้เสริมเหล็กเสียบลงรูไว้รัดกันจันฑัน

7.สุดท้ายให้ผสมน้ำปูนทรายละเอียด 1 ต่อ5 ผสมให้ข้น แล้วนำไปทาผนังโดยใช้แปรงขนม้าทา ตกแต่งเซาะร่อง ให้สวยงาม ทิ้งไว้ 1-2 วัน ก็จะเสร็จใช้งานได้

การทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพของบล๊อคประสาน

1.กำลังต้านทางแรงอัดของบล๊อค ไม่น้อยกว่า 70 กกใ แรง/ตร.ซม. ค่าเแลี่ยของบล๊อค 5 ก้อน ที่อายุ 28 วัน

2.กำลังต้านทานแรงอัดของบล๊อค ไ่ม่น้อยกว่า 55 กก. แรง/ตร.ซม. แต่ละก้อน

3.การดูดซึมน้ำอขงบล๊อค ไม่มากกว่าร้อยละ 15 อขงน้ำหนักก้อน

4.ความทนทานในการรับน้ำหนัก หลังจากการทดสอบเปียก และอบแห้ง 6 รอบค่าความต้อนทานแรงอัดควรเพิ่มขึ้นจากเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ15

 

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


เป็นที่น่าเสียดายว่า ปัจจุบันนี้ ครัวมอญที่เคยทำอิฐออกจำหน่ายจนได้ชื่อว่าเป็นผู้นำในการ ผลิตวัสดุก่อสร้างชนิดนี้ขึ้น ได้เลิกราหันไปประกอบอาชีพอื่นกันหมดสิ้น ทำให้คำว่า อิฐมอญ ตก เป็นชื่อของอิฐดินเผา ซึ่งผลิตออกขายมาจากโรงงาน หรือกลุ่มผู้ผลิตอื่น ๆ ที่ไม่มีเชื้อสายมอญอยู่เลย

หลังจากอิฐกลายเป็นสินค้าประเภทวัสดุก่อสร้าง ที่มีความสำคัญมากขึ้น เพราะประชาชน ไม่นิยมปลูกสร้างบ้านเรือนด้วยไม้ที่มีราคาสูงมากต่อไปขนาดของอิฐก็ถูกลดลงให้เล็กจนเหลือเพียง ยาว 14 เซนติเมตร กว้าง 6.5 เซนติเมตร และสูง3 เซนติเมตร เท่านั้น ขนาดของอิฐที่เล็กลงนี้เป็นผล ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการก่อสร้างด้วย กล่าวคือ เปลี่ยนการเรียงอิฐแบบโบราณโดยใช้ด้านยาว สลับด้านกว้าง มาเป็นใช้ด้านยาวโดยตลอด แต่ใช้วิธีเรียงสลับครึ่งก้อน

ปัจจุบันนี้ อาชีพที่ทำอิฐมอญแพร่หลายไปตามจังหวัดต่าง ๆ หลายจังหวัด แต่ที่ทำกันใน แบบครัวเรือนยึดถือตกทอดกันมาตั้งแต่ครั้งบรรพบุรุษ มีอยู่เพียงไม่มากนัก ส่วนใหญ่เกาะกลุ่มกัน อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และจังหวัดอ่างทองเท่านั้น

อิฐไทยหรือที่นิยมเรียกกันว่า อิฐมอญ ยังมีวิวัฒนาการต่อมาอีกขั้นหนึ่ง นั่นคือ อิฐโชว์หรือ อิฐประดับ อิฐประเภทนี้มีวิธีการทำเช่นเดียวกับอิฐไทย หากแต่ส่วนผสมของอิฐ ไม่มีแกลบอยู่ จึง ทำให้ผิวเรียบสวยงานแต่ก็มีจุดด้อยอยู่ตรงที่เหราะกว่าอิฐที่ผสมด้วยแกลบ อิฐโชว์หรืออิฐประดับนี้ มีราคาสูงกว่าอิฐไทยมาก เพราะมีกระบวนการผลิตที่ประณีต พิถีพิถัน ดังนั้นจึงไม่เป็นที่นิยมของ คนทำอิฐทั่วไป

การทำอิฐมอญเริ่มจากการนำเรือ [4] เช่น เรือมาดหรือเรือชะล่า ไปบรรทุกดินเลนที่ขุด ขึ้นมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ภาษาคนทำอิฐเรียกว่าทำดินจากนั้นก็โกยดินเลนออกจากเรือ ไปใส่ใน บ่อ ผสมดินเรียกว่าหลุมดินแล้วเอาแกลบใส่ผสม ใช้เท้าย่ำให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันเรียกว่าย่ำดินเมื่อได้ที่แล้วจึงโกยดินดังกล่าวไปเก็บไว้ในบ่อพักดิน เพื่อผึ่งดินให้หมาด ใช้เวลาประมาณ 12 ชั่วโมง แล้วโกยดินขึ้นรถเข็นนำไปยังลาน แล้วเทดินไว้บนลานกลางแจ้ง ใช้พิมพ์ที่ทำด้วยไม้เป็น กรอบสี่เหลี่ยมผืนผ้า ใช้กดลงบนดิน พิมพ์เป็นแผ่น เรียงกันเป็นแถวบนลาน แล้วผึ่งแดดไว้ประมาณ สามวันจนแห้ง จากนั้นจึงใช้มีดถากตกแต่งให้เรียบร้อยทั้งสี่ด้าน มีดที่ใช้แต่งเรียกว่ามีดถากอิฐเมื่อตกแต่งแล้วจะผึ่งแดดไว้จนกว่าอิฐจะแห้ง แล้วขนอิฐไปเรียงซ้อนไว้เป็นชั้น ๆ ในโรงอิฐจนเป็น กองใหญ่ ขนาดกว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร สูง 2 เมตร จะได้อิฐประมาณสองหมื่นแผ่นเรียกว่าหนึ่งเตาแล้วเอาโคลนผสมแกลบทาให้ทั่วเตา อย่าให้มีรูหรือร่องรอย เพื่อที่เวลาเผาจะเก็บความ ร้อนได้มาก จากนั้นเอาฟืนสอดตามช่องระหว่างแถวอิฐที่ติดกับพื้นดิน เอาไฟจุดเผา ไฟจะลุกลาม ขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุด ใช้เวลาเผาประมาณ 5-8 วัน ก็ไหม้หมด พอถึงวันที่สิบอิฐจะเย็นลง ช่างจะรื้อ อิฐด้านนอกที่ไม่สุกออก เหลือแต่อิฐสุกสีแดงไว้ขายต่อไป

ในการผลิตอิฐมอญได้มีการวิวัฒนาการเรื่อยมา เพื่อให้มีคุณสมบัติที่เหมาะสมกับการใช้ งานของงานและพื้นที่ ซึ่งมีความแตกต่างออกไป ปัจจุบันได้มีการทำอิฐมอญกันอย่างแพร่หลายใน ประเทศไทย แต่ละแหล่งการผลิตที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักกันดีในธุรกิจอุตสาหกรรมการทำอิฐ

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


ความเป็นมา

อิฐดินเผา (clay brick) [2] เป็นวัสดุในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนและโครงสร้างต่าง ๆ

เพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยและวัดวาอาราม ปราสาท ราชวัง นับตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน อิฐเป็นวัสดุ ก่อสร้างที่มีบทบาทสำคัญการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือน โดยเป็นส่วนประกอบของผนังก่ออิฐฉาบ ปูน

อิฐมอญเป็นวัสดุก่อสร้างที่มนุษย์รู้จักนำวัสดุจากธรรมชาติมาทำเป็นก้อนใช้ในการก่อสร้าง มานับพัน ๆ ปีมาแล้ว การใช้อิฐครั้งแรกนั้นใช้ในสมัยอียิปต์โบราณ ในสมัยนั้นใช้โคลนในแม่น้ำ ไนล์มาย่ำและปั้นให้เป็นก้อนตามขนาดที่ต้องการแล้วนำไปตากแดดให้แห้งโดยมิได้มีการเผาให้สก อิฐชนิดนี้ใช้ในการก่อกำแพงของอาคารบางประเภทและเนื่องจากภูมิประเทศในแถบนั้นในปีหนึ่งๆ ฝนตกน้อยมากหรือบางครั้งไม่ตกเป็นปี ๆ ก็มี จึงไม่มีปัญหาในเรื่องอิฐละลายเพราะน้ำฝนชะล้าง ออก จากการค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ พบว่าในที่ฝังศพของกษัตริย์อียิปต์โบราณที่อยู่ใต้พีระมิดนั้น มีการใช้อิฐเผาเคลือบสีกรุผนังบางตอน ุ

พวกชาวบาบิโลเนียซึ่งมีในแถบลุ่มแม่น้ำไทกริสและยูเฟติสซึ่งมีฝนตกมากได้ทำอิฐที่เผา ไฟสุกแล้วใช้ในการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ มากมาย ในสมัยต่อ ๆ มาก็มีการใช้อิฐเป็นวัสดุก่อสร้าง มากขึ้นทั้งในยุโรป อเมริกาและเอเชียซึ่งรวมทั้งไทยด้วย

อิฐหากถามว่าถูกสร้างขึ้นเมื่อไร[1] และใครเป็นคนแรกที่คิดค้นเพื่อใช้ในงานก่อสร้างนั้น คงเป็นคำตอบที่ลำบาก หากแต่มีหลักฐานทางโบราณคดีพบว่า มีซากสิ่งก่อสร้างเก่าแก่ ตั้งแต่ อาณาจักรลพบุรี ซึ่งเป็นสมัยที่เคยมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิ เมื่อประมาณปี พ.. 1100 และคนสมัยปัจจุบันพากันเรียกว่าขอมทำขึ้นโดยใช้อิฐเรียงซ้อนทับกันเป็นโครงสร้าง อิฐที่ ทำขึ้นในสมัยปัจจุบันมีลักษณะแบน กว้าง ผิวเรียบ แต่อาจจะเป็นด้วยการทำอิฐมีกรรมวิธียุ่งยาก ซับซ้อนมาก จึงทำให้ชนชาติขอมเปลี่ยนมาใช้ศิลาแลง และหินทรายในการก่อสร้างอาคารและ สถาปัตยกรรมต่าง ๆ ในยุคต่อมา

ประมาณปี .. 1300 อาณาจักรทวาราวดีซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองอยู่ทางฝั่งตะวันตกของ แม่น้ำเจ้าพระยาก็ได้มีการผลิตอิฐใช้ในการก่อสร้างอาคาร บ้านเรือนของตนเช่นกัน อิฐของ อาณาจักรทวาราวดีมีขนาดใหญ่มาก ค่อนข้างแบน สีหมากสุกเพราะเกิดจากการเผา

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ

การเลือกพื้นที่ ควรจะเป็นที่ที่น้ำท่วมไม่ถึงถ้าเป็นพื้นราบ ควรจะถมดินให้สูงกว่าระดับพื้นทั่วๆไป เพราะบ้านดินไม่กลัวลมไม่กลัวฝนไม่กลัวไฟ กลัวอย่างเดียวคือน้ำท่วม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำให้บ้านอยู่ไกลจากน้ำท่วมให้ได้

2. การออกแบบบ้าน เจ้าของบ้านควรจะเป็นคนออกแบบบ้านเอง เพราะไม่มีใครรู้ดีเท่าเจ้าของบ้านว่าเขาต้องการบ้านรูปร่างยังไง ต้องการห้องทำอะไรบ้าง หรือต้องการใช้พื้นที่ไหนทำอะไร บ้านไม่เกินสองชั้นไม่มีอะไรซับซ้อนไนการออกแบบ และไม่จำเป็นต้องคำนวณสัดส่วนต่างๆเพียงแค่ขีดเส้นไปตามพื้นดินแล้วทำฐานตามไปตามจินตนาการ ยกเว้นบ้านที่มากกว่าสองชั้นอาจจะหาผู้มีประสบการช่วย แม้ว่าบ้านดินจะสามารถ สร้างสูงได้หลายชั้น แต่ยิ่งสูงยิ่งหนักในการขนอิฐขนดินขึ้นไปบ้านชั้นเดียวหรือสองชั้นง่ายที่สุด สำหรับคนที่เริ่มทำบ้านใหม่ๆ

บ้านดินจะออกแบบเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ จะเป็นวงกลม หรือผนังตรงก็ได้ หรือจะลากเส้นไปยังไงก็ได้ตามต้องการแต่ถ้าเป็นผนังตรงยาว เกิน 4 เมตรควรจะทำติ่งยื่นออกมาด้านนอกของกำแพงยาวอย่างน้อย 8 นิ้ว ทุกๆ 4 เมตรจะทำให้ กำแพงแข็งแรงมากขึ้นโดยเฉพาะขณะก่อใหม่ๆกำแพงยังไม่แห้งเวลาเคลื่อนไหวบน กำแพงแรงๆอาจทำให้กำแพงเอนเอียงได้ การทำติ่งหรือการสร้างมุมขึ้นบนกำแพงตรงๆจะช่วยได้มาก จริงๆแล้วติ่งก็คือเสาดินที่ติดเชื่อมกับกำแพงด้านนอกห้องนั่นเอง บ้านดินไม่ควรมีเสาไม้เสาคอนกรีตหรือเสาอื่นๆอยู่ในกำแพงนอกจากเสาอิฐดิน ที่ก่อเชื่อมติดอยู่ในกำแพงบางส่วน เพราะบ้านดินเป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ผนังรับน้ำหนัก ผนังทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันน้ำหนักจากข้างบนจะกระจาย ลงบนผนังทั้งหมดระบบผนังรับน้ำหนักจึงรับน้ำหนักได้มากกว่าระบบเสารับน้ำหนักเช่นบ้านทั่วๆไปได้หลายสิบเท่าการมีเสาอยู่ในกำแพงดินจะทำให้บ้านดินไม่แข็งแรงเพราะเสาจะแยกไม่ให้ผนังดินเชื่อมติดกันเวลามีแรงสะเทือนแรงๆ เช่นแผ่นดินไหวจะทำให้เกิดรอยร้าวตรงที่เป็นเสาได้เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นหมายความว่ากำแพงไม่ได้เชื่อมติดกันอีกต่อไป การกระจายน้ำหนักก็จะจบลงตรงรอยร้าวผนังส่วนนั้นก็จะตั้งอยู่โดยไม่มีอะไรค้ำยันถือว่าไม่แข็งแรงเลย เวลาออกแบบควรจะคำนึงถึงทิศทาง แสง ลม ฝนว่ามันมาจากทิศทางไหนบ้างและเราต้องการใช้ประโยชน์จากมันยังไงบ้าง เช่นในประเทศที่ฤดูหนาวยาวนาน เขาจะทำบ้านให้แสงแดดเข้าไปในบ้านให้มากๆบ้านจะได้อุ่นนานๆ ส่วนบ้านในเขตร้อนเราจะทำบ้านให้มีแสงแดดเข้าบ้านน้อยๆบ้านจะได้เย็นสบายส่วนมาก เราจะให้แดดเข้าบ้านเฉพาะตอนเช้าๆเพราะไม่ร้อน แต่เราก็ต้องการแสงเพื่อให้บ้านน่าอยู่บ้านที่ทึบมืดเพราะช่องแสงและหน้าต่างน้อยเกินไปจะทำให้รู้สึกอึดอัด และยุงเยอะ บ้านในเขตร้อนเราต้องการให้ลมผ่านถ้าเราออกแบบให้บ้านมีทิศทางที่ต้อนรับลม ได้ดีก็จะช่วยให้บ้านน่าอยู่ขึ้น บ้านดินหรือบ้านอื่นๆเราก็ไม่อยากให้ ฝนเข้าบ้านอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะรู้ทิศทางของฝนเพื่อจะได้ทำชายคายาวขึ้นหรือหาต้นไม้มาปลูกบังฝน ถ้าต้องการให้บ้านดินควบคุมอุณหภูมิได้ใกล้เคียงกับห้องแอร์ ควรจะมีเพดานที่มิดชิดมีประตูหน้าต่างที่ปิดเปิดได้ดีและมีช่องลมบนผนังใต้เพดานที่เปิดปิดได้ เพราะผนังบ้านดินมีความหนาอย่างน้อย 8 นิ้ว ความร้อนจากแสงแดดใช้เวลาประมาณ 10 – 11 ชั่วโมงกว่าจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ถ้าผนังถูกแสงแดดโดยตรง ดังนั้นถ้าเราปิดประตูหน้าต่างตอนกลางวันอากาศภายในห้องจะอยู่ระหว่าง 25 -26 เซลเซียส จนถึงเวลาบ่าย 5 – 6 โมงเย็น ความร้อนจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ ภายในห้องจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าเป็นฤดูหนาวห้องจะอุ่นพอดีมา แม้ข้างนอกจะหนาวจนต้องใส่เสื้อกันหนาวหลายผืนแต่ในบ้านใส่เสื้อยืดตัวเดียว อยู่ได้สบาย เนื่องจาก ผนังที่หนาจะเก็บความร้อนได้นานหลายชั่วโมงถ้าเป็นหน้าร้อนตอนเย็นจะร้อนมาก ต้องเปิดประตูหน้าต่างและช่องลมใต้เพดาน เพื่อให้อากาศร้อนไหลออกไปแล้วอากาศเย็นจากข้างนอกจะเข้ามาแทนที่ โดยวิธีนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในห้อง ใกล้เคียงกับห้องแอร์มากโดยไม่ต้องมีแอร์

การคำนวณว่าจะใช้อิฐกี่ก้อนวิธี ง่ายๆคือหาพื้นที่ผนังทั้งหมด โดยเอาความกว้างคูณความยาวคูณความสูงของผนังบ้านทั้งหมดตัดประตูหน้าต่างออก จะเหลือพื้นที่กี่ตารางเมตรถ้าทำอิฐขนาด 4x8x16 นิ้ว จะใช้อิฐประมาณ 25 ก้อน ต่อหนึ่งตารางเมตร คูณกันออกมาก็จะได้จำนวนอิฐที่เราต้องการแต่เวลาทำอิฐควรทำเผื่อไว้ บ้างเล็กน้อยก็ได้ บ้านดินจะออกแบบเป็นรูปทรงอะไรก็ได้ จะเป็นวงกลม หรือผนังตรงก็ได้หรือจะลากเส้นไปยังไงก็ได้ตามต้องการแต่ถ้าเป็นผนังตรงยาว เกิน 4 เมตรควรจะทำติ่งยื่นออกมาด้านนอกของกำแพงยาวอย่างน้อย 8 นิ้ว ทุกๆ 4 เมตรจะทำให้ กำแพงแข็งแรงมากขึ้นโดยเฉพาะขณะก่อใหม่ๆกำแพงยังไม่แห้งเวลาเคลื่อนไหวบนกำ แพงแรงๆอาจทำให้กำแพงเอนเอียงได้ การทำติ่งหรือการสร้างมุมขึ้นบนกำแพงตรงๆจะช่วยได้มาก จริงๆแล้ว ติ่งก็คือเสาดินที่ติดเชื่อมกับกำแพงด้านนอกห้องนั่นเอง บ้านดินไม่ควรมีเสาไม้เสาคอนกรีตหรือเสาอื่นๆอยู่ใน กำแพงนอกจากเสาอิฐดินที่ก่อเชื่อมติดอยู่ในกำแพงบางส่วน เพราะบ้านดินเป็นการก่อสร้างโดยใช้เทคนิค ผนังรับน้ำหนัก ผนังทั้งหมดจะเชื่อมต่อกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันน้ำหนักจากข้างบนจะกระจาย ลงบนผนังทั้งหมดระบบผนังรับน้ำหนักจึงรับน้ำหนักได้มากกว่าระบบเสารับน้ำ หนักเช่นบ้านทั่วๆไปได้หลายสิบเท่าการมีเสาอยู่ในกำแพงดินจะทำให้บ้านดินไม่ แข็งแรงเพราะเสาจะแยกไม่ให้ผนังดินเชื่อมติดกันเวลามีแรงสะเทือนแรงๆเช่น แผ่นดินใหวจะทำให้เกิดรอยร้าวตรงที่เป็นเสาได้เมื่อเกิดรอยร้าวขึ้นหมายความ ว่ากำแพงไม่ได้เชื่อมติดกันอีกต่อไป การกระจายน้ำหนักก็จะจบลงตรงรอยร้าวผนังส่วนนั้นก็จะตั้งอยู่โดยไม่มีอะไร ค้ำยันถือว่าไม่แข็งแรงเลย

เวลาออกแบบควรจะคำนึงถึงทิศทาง แสง ลม ฝนว่ามันมาจากทิศทางใหนบ้างและเราต้องการใช้ประโยชน์จากมันยังไงบ้างเช่นใน ประเทศที่ฤดู หนาวยาวนานเขาจะทำบ้านให้แสงแดดเข้าไปในบ้านให้มากๆบ้านจะได้อุ่นนานๆส่วน บ้านในเขตร้อนเราจะทำบ้านให้มีแสงแดดเข้าบ้านน้อยๆบ้านจะได้เย็นสบายส่วนมาก เราจะให้แดดเข้าบ้านเฉพาะตอนเช้าๆเพราะไม่ร้อนแต่เราก็ต้องการแสงเพื่อให้ บ้านน่าอยู่ บ้านที่ทึบมืดเพราะช่องแสงและหน้าต่างน้อยเกินไปจะทำให้รู้สึกอึดอัด และยุงเยอะ บ้านในเขตร้อนเราต้องการให้ลมผ่านถ้าเราออกแบบให้บ้านมีทิศทางที่ต้อนรับลม ได้ดีก็จะช่วยให้บ้านน่าอยู่ขึ้น บ้านดินหรือบ้านอื่นๆเราก็ไม่อยากให้ ฝนเข้าบ้านอยู่ดี ดังนั้นเราควรจะรู้ทิศทางของฝนเพื่อจะได้ทำชายคายาวขึ้นหรือหาต้นไม้มาปลูก บัง ฝน ถ้าต้องการให้บ้านดินควบคุมอุณหภูมิได้ใก้ลเคียงกับห้องแอร์ควรจะมีเพดานที่ มิดชิดมีประตูหน้าต่างที่ปิดเปิดได้ดีและมีช่องลมบนผน้งใต้เพดานที่เปิดปิด ได้เพราะผนังบ้านดินมีความหนาอย่างน้อย 8 นิ้ว ความร้อนจากแสงแดดใช้เวลาประมาณ 10 – 11 ชั่วโมงกว่าจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ถ้าผนังถูกแสงแดดโดยตรงดังนั้นถ้าเราปิด ประตูหน้าต่างตอนกลางวันอากาศภายในห้องจะอยู่ระหว่าง 25 -26 c จนถึงเวลาบ่าย 5 – 6 โมง เย็น ความร้อนจะทะลุเข้าไปในบ้านได้ ภายในห้องจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น ถ้าเป็นฤดูหนาวห้องจะอุ่นพอดีมา แม้ข้างนอกจะหนาวจนต้องใส่เสื้อกันหนาวหลายผืนแต่ในบ้านใส่เสื้อยืดตัวเดียว อยู่ได้สบาย เนื่องจาก ผนังที่หนาจะเก็บความร้อนได้นานหลายชั่วโมงถ้าเป็นหน้าร้อนตอนเย็นจะร้อนมาก ต้องเปิดประตูหน้าต่างและช่องลมใต้เพดาน เพื่อให้อากาศร้อนไหลออกไปแล้วอากาศเย็นจากข้างนอกจะเข้ามาแทนที่ โดยวิธีนี้จะทำให้อุณหภูมิภายในห้อง ใกล้เคียงกับห้องแอร์มาก โดยไม่ต้องมีแอร์

การคำนวณว่าจะใช้อิฐกี่ก้อนวิธี ง่ายๆคือหาพื้นที่ผนังมั้งหมด โดยเอาความกว้างคูณความยาวคูณความสูงของผนังบ้านทั้งหมดตัดประตูหน้าต่างออก จะเหลือพื้นที่กี่ตารางเมตตรถ้าทำอิฐขนาด 4x8x16 นิ้ว จะใช้อิฐประมาณ 25 ก้อน ต่อ หนึ่งตารางเมตร คูณกันออกมาก็จะได้จำนวณอิฐที่เราต้องการแต่เวลาทำอิฐควรทำเผื่อไว้ บ้างเล็กน้อยก็ได้

3. ทำ ฐาน หรือ เทคาน การทำบ้านดินชั้นเดียว อาจจะไม่จำเป็นต้องทำฐานก็ได้ถ้าไม่ห่วงเรื่องปลวกวัตถุประสงค์หลักของฐาน หรือคานบ้านดินคือ ป้องกันปลวกฉนั้นฐานควรจะอยู่เหนือดินไม่จำเป็นต้องขุดลึกลงไปในดิน วัตถุประสงค์รองลงมาคือป้องกันความชื้นที่จะขึ้นมาหาอิฐดินหรือน้ำท่วม ยกเว้นที่ถมใหม่ที่ยังไม่ผ่านฝนเลยหรือพื้นที่ที่เป็นดินเหนียวมากๆเช่น บริเวณลุ่มน้ำต่างๆ เช่น ลุ่มน้ำเจ้าพระยาจำเป็น ต้องมีฐานใหญ่และลึกลงไปในดินด้วย เพราะที่ถมใหม่ดินจะยังไม่แน่นโอกาศทรุดจะมีมากและพื้นดินเหนียวดินจะขยาย ตัวและอ่อนนิ่มมากเมื่อเปียกน้ำและจะหดตัวอย่างมากเมื่อแห้งดังนั้นจึง จำเป็นต้องมีฐานเหมือนบ้านทั่วๆไปการทำฐานบนพื้นที่ที่มีหินหรือทรายปนมากๆ ควรทำฐานเหนือดินโดยใช้ก้อนอิฐดินที่แห้งแล้วตั้งด้านข้างเรียงกันเป็นแบบ พิมพ์ แทนไม้แบบโดยให้ฐานกว้างอย่างน้อยเท่ากับความกว้างของอิฐที่จะก่อหรืออย่าง น้อย 8 นิ้ว และความสูงอย่างน้อย 5 นิ้วขึ้นไปแล้วเทคอนกรีตเสริมเหล็กหรือเสริมไม้ไผ่ก็ได้ควรจะแกะอิฐดินที่ ใช้เป็นแบบพิมพ์ออกก่อนที่คอนกรีตจะแห้งจะแกะง่ายและไม่เสียอิฐนำมาก่อ ใช้ได้อิกเหมือนเดิมหรือจะใช้เศษคอนกรีตที่คนทุบตึกทิ้งหรือก้อนหินมาก่อ ด้วยปูนทำเป็นฐานก็ได้

4. ทำแบบพิมพิ์อิฐ ขนาดของอิฐที่เราใช้ส่วนมากคือ 4x8x16 นิ้ว ขนาด ของอิฐไม่สำคัญแต่ขนาดของกำแพงสำคัญกว่ากำแพงบ้านดินควรจะหนาอย่างน้อย 8 นิ้วขึ้นไปเพื่อความแข็งแรงเพราะเป็นระบบผนังรับน้ำหนักและเพื่อควบคุม อุณหภูมิภายในบ้านด้วยฉนั้นขนาดของอิฐทำเท่าไรก็ได้ตามต้องการผมเคยทำ ขนาด 5x10x16 นิ้วปรากฏว่าไม่มีคนอยากจะช่วยยกอิฐเลย โดยเฉพาะเวลาก่อขึ้นสูงๆไม่มีใครอยากส่งอิฐให้เพราะมันหนักแต่ก่อได้เร็วมาก ถ้าทำก้อนเล็กก็จะรู้สึกว่ามันไปช้ามากแต่ขนาด 4x8x16 นิ้วค่อนข้างจะดี นไม่ค่อยรังเกียจที่จะช่วยยกช่วยส่งแบบพิมพ์จะทำด้วยเหล็กหรือไม้ก้ได้แต่ ไม้จะง่ายและถูกกว่าจะทำเป็นช่องเดียวหรือหลายช่องก็ได้แล้วแต่ว่าจะมีคน ช่วยยกกี่คน

5. เตรียมพื้นที่ทำอิฐ ควรจะหาที่ที่ ใกล้กับฐานให้มากที่สุดเพราะจะไม่ต้องขนไกลงานหนักที่สุดในการทำบ้านดินคือ การขนดินฉะนั้นถ้าทำใก้ลๆฐานทำอิฐเสร็จก็ขนเข้าไปกองไว้กลางฐานเลยเวลาก่อก็ ยกมาก่อได้เลยพื้นที่จะทำอิฐควรปรับให้เรียบที่สุดจะได้อิฐที่สวยที่สุดแต่ พื้นที่จะทำอิฐไม่ควรเป็นคอนกรีตหรือพลาสติกหรือพื้นที่มีผิวเรียบมากๆเพราะ จะแห้งช้ามากและแกะออกไม่ได้เพราะมันจะดูดติดแน่นมากเพราะน้ำชึมผ่านไม่ได้ ทำให้แห้งช้าและอากาศผ่านไม่ได้พอน้ำจากอิฐระเหยออกทางด้านบนด้านเดียวเลย เกิดช่องศูนยากาศ ขึ้นระหว่างด้านล่างของก้อนอิฐกับพื้นที่เรียบเลยทำให้แกะออกยากมาก

6. การเลือกดินที่จะใช้ทำอิฐ หรือทำบ้าน เราต้องการดินที่มีดินเหนียวปนอย่างน้อย 15% ขึ้นไปและไม่ใช่ดินเหนียวล้วนวิธีทดสอบง่ายๆคือเอาดินมากำมือหนึ่งผสมน้ำนวด ให้เหนียวปั้นเป็นเส้นขนาดนิ้วมือและยาวเท่ากับนิ้วมือ จับปลายข้างหนึ่งยกขึ้นถ้าเสันดินไม่ขาดก็ถือว่าใช้ได้อีกวิธีหนึ่งคือเอา มือที่เปื้อนดินจุ่มลงไปในน้ำแล้วยกขึ้นโดยไม่ต้องแกว่ง ถ้ามือสะอาด เลย แสดงว่าทรายเยอะเกินไป ใช้ไม่ได้ ถ้ามีดินติดมืออยู่บ้าง ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าต้องล้างมือนานๆจึงจะสะอาดถือว่าดินเหนียวเยอะเกินไปใช้ ไม่ได้ถ้าจำเป็นต้องใช้ต้องเพิ่มทรายและเส้นใยมากขึ้น

7. ส่วนผสมของอิฐดิน
- ดินที่เลือก ได้ตามข้อ 6
- น้ำ
- เส้นใย เช่น แกลบ ฟางช้าวหรือหญ้าแห้งที่ไม่ยาวเกินไปเส้นใยจะทำหน้าที่เสริมให้ก้อนอิฐแข็ง แรงขื้นลดการหดต้วของดินเหนียวทำให้อิฐไม่ร้าวและเป็นหลังคาให้ก้อนอิฐทำให้ น้ำ กัดเซาะ ช้าลงถ้าไม่มีเส้นใยในพื้นที่เลยอาจจะใช้ทรายแทนได้ชึ่งทรายช่วยทำให้อิฐ แข็งแรงได้ลดการแตกร้าวได้แต่ลดการกัดเซาะไม่ได้ต้องระวังไม่ให้ถูกฝนเช่นทำ อิฐและก่อสร้างในหน้าแล้ง ทำชายคายาวขึ้นหรือฉาบทาผนังด้านนอกด้วยวัสดุที่กันน้ำได้ทรายที่ไช้ไม่ จำเป็นต้องเป็นทรายจากแม่น้ำหรือทรายก่อสร้างจะเป็นดินตามทุ่งนาที่มีทราย ผสมมากๆก็ได้


ส่วนผสมทั้งหมดไม่อาจทำเป็นอัตราส่วนได้เพราะดิน แต่ละที่จะไม่เหมือนกัน หรือแม้แต่ที่เดียวกันแต่ต่างระดับกันก็ยังไม่เหมือนกัน ฉนั้นจึงทำสูตรไม่ได้แต่ใช้วิธีทดสอบง่ายๆโดยทำอิฐดูก่อนทิ้งไว้สักวันถ้า อิฐมีรอยร้าวแสดงว่าเส้นใยไม่พอถ้าไม่ร้าวเลยก็ใช้ได้และทดสอบความแข็งแรง โดยใช้อิฐที่แห้งแล้วมาทดสอบ ยกอิฐขึ้นสุดแขนเอามุมของก้อนอิฐทุ่มลงที่พื้นแข็งอย่างแรง ถ้าอิฐแตก หักเป็นก้อนมากกว่า 4 ก้อนถือว่าใช้ไม่ได้ ดินที่ใช้มีดินเหนียวไม่พอ

8. การทำอิฐ ขุดพรวนดืนให้ร่วนซุยทำขอบกั้นรอบๆให้ขังน้ำได้เติมน้ำให้ท่วมดิน แล้วปล่อยให้ดินซับน้าซักพักเมื่อดินอิ่มน้ำแล้วลงเหยียบได้ทดสอบว่าดินอิ่ม น้ำหรือยังโดยเหยียบลงไปในบ่อดินถ้าท้าวเหยียบผ่านดินลงไปถึงก้นบ่อได้แสดง ว่าดินอิ่มน้ำแล้วย่ำต่อไปได้ แต่ถ้าเหยียบดูแล้วเท้าไม่จม ผ่านดินลงไปถึงก้นบ่อให้รอก่อนเพราะถ้าเหยียบย่ำต่อไปจะทำให้ดินแน่นแข็ง ต้องขุดใหม่ ถ้าจำเป็นต้องรีบทำ ห้ใช้จอบขุดช่วยผสมให้ดินชับน้ำเร็วขึ้นหรือทำที่ละหลายๆบ่อแล้วทำเวียนไป เรื่อยๆดินบางที่มีดินเหนียวมากอาจจะต้องแช่ข้ามคืนก็ควรจะทำหลายบ่อจะเร็ว ขึ้นให้เหยืยบย่ำดินจนเละเป็นโคลนแต่ไม่ควรเกิน 5 นาทีดินอาจจะยังเป็นก้อนอยู่บ้างก็ไม่เป็นไรให้เติมเส้นใยลงไปเล ในระหว่างที่ย่ำผสมเส้นใยก้อนดินเหล่านั้นจะแตกละลายเอง เติมเส้นใยไปเรื่อยๆจนดินข้นตามต้องการแล้วตักใส่พิมพ์ความข้นที่พอดีทดสอบ โดยเหยียบเท้าลงไปในดินจนถึงก้นบ่อแล้วถอนท้าวขึ้นมาจะเห็นรอยท้าวเป็นรู ค่อยๆปิดเข้าหากันแต่ไม่สนิทถือว่าข้น พอดีหรือวิธีที่แน่นอนที่สุดคือตักดินไปเทใส่พิมพ์ลองดูปาดหน้าพิมพ์ให้ เรียบแล้วถอดพิมพ์ออกถ้าอิฐอยู่ทรงคงรูปได้ไม่ใหลไม่แบะถือว่าใช้ได้ถ้าอิฐ ไม่อยู่ทรงให้เติมเส้นใยหรือเพิ่มดินเข้าไปอีกถ้าถอดพิมพ์ยากหรือติดพิมพ์ ให้เติมน้ำแล้วผสมใหม่ก่อนใช้พิมพ์ครั้งแรกควรเช็ดพิมพ์ให้เปียกก่อนแต่ไม่ ควรเช็ดพิมพ์ทุกครั้งเพราะจะเสียเวลามากเติมน้ำที่บ่อเร็วกว่า

ถ้าต้องทำอิฐมากไช้รถไถนาแบบ เดินตาม ใส่ล้อเหล็ก ไถพรวนดิน สูบน้ำใส่ แล้วใช้ล้อเหล็กเหยียบนวด จะเร็วมากแล้วใช้แบบพืทพ์ขนาด 10 ก้อนหรือ มากกว่านั้นแต่ทำเป็น 2 แถวติดกัน ตักดินใส่รถเข็นปูนมาเทลงพิมพ์ ใช้ไม้ปาดหน้าพิมพ์ให้เรืยบทีเดียวแล้วยกพิมพ์ออก วิธีนี้จะเร็วมาก

หลังจากถอดพิมพ์ออก ปล่อยตากแดดประมาณ 2 วันหรือรอจนอิฐ สามารถเคลื่อนย้ายได้โดยไม่เสียทรงให้พลิก ตั้งด้านข้างขึ้นแล้วใช้มีดพร้าเก่าๆ ถากตกแต่งอิฐให้รูปทรงเสมอกันตามต้องการถ้าปล่อยให้อิฐแห้งมากกว่านี้อาจ ทำให้อิฐติดกับพื้นแน่นพลิกกลับยาก และต้องถากตกแต่งมากด้วย การพลิกอิฐตั้งด้านข้าง จะทำให้อิฐแห้งเร็วขึ้นเท่าตัว

ถ้า 2 คนทำอิฐ 2 ชั่วโมงได้อิฐน้อยกว่า 50 ก้อน ถือว่ามีอะไรผิดพลาดในเทนิคการทำไม่ควรทนทำต่อไป แต่ให้หยุดคิดหาข้อบกพร่องหรือทดลองหาความง่ายให้ได้เพราะถ้าทำต่อไปแบบเดิม จะเสียเวลามากและเสียกำลังใจดัวยความถูกต้องคือง่ายและเร็วถ้ายากและช้า ถือว่าผิด

สาเหตุที่ทำให้การทำอิฐว้าคือ
- ใส่น้ำน้อยเกินไปทำให้เหยียบนวดยากมาก
- ไม่รู่ว่าขนาดใหนคือพอดีก็จะเหยียบนวดเพลินไปเรื่อยๆ
- ผสมดินแห้งเกินไปทำให้ต้องเสียเวลากดลงในพิมพ์หรือดินแห้งไปนิดหนึ่งจะทำให้ aติดพิมพ์แล้วต้องใช้น้ำเช็ดพิมพ์ทุกครั้ง
- ลูบตกแต่งหน้าอิฐนานเกินไปเพื่อให้หน้าอิฐเรียบสวยความจริงแล้วมันเป็นความ สวยที่ไม่จำเป็นเพราะเวลาก่อเป็นบ้านมันจะถูกฉาบทับปิดหมดเลย


9. การก่ออิฐ ก่อนที่จะก่อควรจะตั้งวงกบประตูบนคานให้เสร็จก่อนแล้วก่ออิฐชนวงกบไปได้เลย วงกบไม่จำเป็นต้องตอกตะปูรอบๆเหมือนกับการทำบ้านคอนกรีตไม่ต้องกลัวว่าเวลา

ปิดเปิดประตูแรงๆแล้ววงกบจะหลุดออกมาด้วยเพราะน้ำหนักที่กดทับลงมาและแรงดูด ของดินทำให้มันแน่นมากแม้แต่เวลาจะขุดออกเพื่อเปลี่ยนวงกบใหม่ยังยากมาก แต่สำหรับคนที่ไม่มั่นใจอาจจะตีไม้หน้าสามยาวสักคืบกว่าๆติดตรงกลางวงกบทั้ง สองข้างแล้วก่ออิฐทับไปเลยก็ได้ การก่อก็เหมือนกับการก่ออิฐมอญหรืออิฐ คอนกรีตทั่วๆไปคือแต่ละแถวต้องไม่ให้ตรงที่ต่ออิฐตรงกัน อิฐแต่ละแถวจะต้องสลับกันส่วนดินที่ใช้ก่อแทนปูนก็ไช้ดินอันเดียวกันกับดิน ที่ใช้ทำอิฐ เพียงแต่ทำให้เหลวขึ้นกว่าตอนทำอิฐนิดหนึ่งดินก่อหรือดินเชื่อมนี้จะผสมโดย ไม่ต้องใช้แกลบหรือเส้นใยก็ได้ดินก่อไม่ควรจะใส่หนา ขนาดที่พอดีคือประมาณหนึ่งส่วนสามของหลังอิฐ ถ้าเราแบ่งหล้งอิฐออกเป็นสามส่วน แล้วใส่ดินก่อตรงส่วนกลางโดยทำให้เป็นคู เหมือนคันนา ไม่ควรละเลงดินก่อให้เรียบบนหลังอิฐ เพราะเวลาวางอิฐลง น้ำหนักอิฐจะกดบีบให้ดินก่อไหลไป เติมรอยเว้าแหว่งทั้งสองข้างของก้อนอิฐ เอง โดยวิธีนี้จะทำให้ไม่มีช่องว่างตรงกลางอิฐหรือกลางกำแพง แต่อาจจะมีช่องว่างตามด้านข้างของอิฐ ชึ่งก็ดี ทำให้ กำแพงแห้งเร็ว และเวลาฉาบ ดินฉาบจะมีที่เกาะดีขึ้น ถ้าละเลงดินก่อให้เรียบ เวลาวางอิฐลงจะเกิดช่องว่าง มาก เพราะปกติอิฐจะไม่ค่อยเรียบมีเว้ามีแหว่งเสมอ ถ้าใช้ดินก่อหนา ก็จะทำให้แห้งช้า เวลาก่อสูงๆจะทำให้กำแพงเอียงได้ง่ายเมื่อก่อถึงระดับที่จะใส่หน้าต่างก็ยกวงกบขึ้นตั้งได้ เลย จับระดับน้ำให้ดีแล้วก่อชนวงกบได้เลยและไม่มีความจำเป็นต้องตอกตะปูรอบวงกบ ทำให้ก่อง่ายด้วย ถ้าบานหน้าต่างกว้างมากควรใช้ไม้หรือเหล็กแข็งๆพาดเหนือวงกบ ห่างกับวงกบ ประมาณ 2 นิ้ว เป็นทับหลังป้องกัน วงกบแอ่น แต่ถ้าช่องบานหน้าต่างกว้างไม่เกิน หนึ่งเมตร ก็ไม่มีปัญหา ไม่ต้องมีทับหลังก็ได้ ถ้ายังไม่มีวงกบจะเว้นช่องไว้ก่อนก็ได้ ส่วนเหนือวงกบ ถ้าไม่อยากใช้ทับหลัง ก็สามารถก่อโดยค่อยๆยื่นอิฐออกมาข้างละ 3-4 นิ้ว จนชนกัน ครงกลาง ช่องสามเหลี่ยมที่เกิดขึ้นเหนือวงกบค่อยมาเติมทีหลัง ในระหว่าง กำลังก่อกำแพงอาจจะเว้นช่องแสงไว้แล้วค่อยมาประดับตกแต่งภายหลัง ด้วยขวดหรือกระจกสีต่างๆก็ได้ การก่ออิฐดิน จะขึงเชือกก่อไปตามเชือก และใช้ระดับน้ำวัดความตรงของกำแพงบ่อยๆเพื่อให้ได้กำแพงตรงเหมือนการก่อ คอนกรีตก็ได้แต่จะใช้เวลามากหน่อยหรือจะก่อโดยไม่ต้องจับ ระดับน้ำไม่สนใจความเสมอเหนือกำแพง ปล่อยให้มันโค้งเป็นคลื่นก็ได้ แล้วไปจับระดับน้ำชั้นสุดท้ายของการก่อก็ได้ ส่วนใหนสูงเกินก็ตัดออกหรือแกะออกส่วนไหนต่ำก็ใช้ฟางชุบดินพอกขึ้นไปให้ถึง ระดับที่ต้องการได้ หรือจะทำโครงหลังคาใส่ก่อนแล้วจับระดับน้ำทีโครงหลังคาให้เสมอกันทั้งหมด โดยใช้ไม้หรืออะไรแข็งๆรองรักษาระดับใว้ก่อน เสร็จแล้วเอาดินเสริมส่วนที่ต่ำ มีทางให้เลือก หลายทาง

10. การทำหลังคา เมื่อทำผนังได้สูงตามต้องการแล้วให้ทำโครงหลังคาทับบนหลังของผนังบ้านได้เลย เพื่อให้เข้าใจง่ายๆให้คิดถึงเวลาเขาทำแบบจำลองบ้านเขาจะทำโครงหลังคาแยก ต่างหากแล้วเอามาทับบนตัวบ้านเวลาจะโชว์บ้านทั้งหลังถ้าอยากจะดูภายในบ้านก็ ยกหลังคาออกบ้านดินก็คล้ายๆกันคือทำโครงหลังคาบนหลังกำแพงเลยเมื่อก่อกำแพง เสร็จใช้ไม้วางรอบหลังกำแพงแล้วตีไม้ให้ติดกันทั้งหมดจากนั้นตีดั้งต่อขึ้น จากไม้ที่วางรอบกำแพงเอา คานหรืออกไก่ขึ้นตีติดกับดั้งจากนั้นใส่จันทันทุกอย่างก็จะทำเหมือนบ้านปกติ เพียงแต่ก่อนที่จะมุงหลังคาให้เอาดินพอกไม้โครงหลังคาส่วนที่ติดกับกำแพง เป็นการยึดโครงหลังคาติดกับตัวบ้านโดยไม่ต้องตอกตะปู จากนั้นมุงหลังคาให้เสร็จได้เลยแต่ถ้าใครไม่มั่นใจว่าดินจะยืดโครงหลังคา อยู่ได้ก็มีทางออกโดยเจาะรูที่กำแพงใต้โครงหลังคาลงมาสักหนึ่งเมตรแล้วใช้ ลวดสอดมัดโครงหลังคาติดกับกำแพง จากนั้นฉาบทับเส้นลวดให้มิดก็ได้ หสังคาบ้านดินจะเป็นอะไรก็ได้ ตั้งแต่หญ้า สังกะสี กระเบื้อง หรือแม้แต่หลังคาดินก็สามารถทำได้ เพราะบ้านดินรับน้ำหนักได้มากกว่าบ้านธรรมดาหลายเท่า

แต่ถ้าเป็นหลังคาดินต้องฉาบทับด้วยวัสดุที่กันน้ำได้เช่น ขี้ ผึ้ง หรือพาราฟิน หรือน้ำมันลินสีดหรือน้ำมันยางผสมชันยาเรือหรือคอนกรีตหรือ อะไรที่กันน้ำได้ก็ได้

11. การเดินสายไฟและระบบน้ำ ควรจะทำก่อนการฉาบท่อสายไฟหรือท่อน้ำจะขุดฝังไว้ในกำแพงเลยก็ได้ หรือถ้าไม่อยากใช้ท่อกับสายไฟก็ใช้ดินฉาบทับสายไฟติดกับผนังไปเลยก็ได้

12. การฉาบ ควรฉาบหลังจากทำหลังคาเสร็จเพราะบางครั้งถ้ามีฝนตกลงมาเราจะไม่ต้องมาฉาบ ใหม่เพราะดินฉาบจะไม่ทนต่อการเซาะของฝนเหมือนก้อนอิฐดินที่ใช้ฉาบก็เหมือน กันกับดินที่ใช้ก่อคือมีดินผสมแกลบและน้ำเหมือนกันแต่จะทำเหลวทำข้นแล้วแต่ ใครถนัดส่วนวิธีการฉาบจะใช้มือหรือใช้เกรียงฉาบก็ได้ถ้าต้องการเนื้อที่ เรียบเสมอกันเหมือนคอนกรีต ควรใช้เกรียงฉาบ แต่ถ้าต้องการผิวผนังเว้านูนไปตามผิวกำแพงก็ควรใช้มือฉาบ วิธีฉาบก็เหมือนกับการฉาบปูนคือให้ลูบขึ้นเสมอเพื่อดินฉาบจะไม่ร่วงลงพื้น เสียหมด ไม่ว่าจะฉาบแบบเว้านูนหรือแบบเรียบตรงเหมือนคอนกรีตก็ควรฉาบให้ผิวเนียน ที่สุดที่จะทำได้เพราะจะง่ายในการทาสีและจะประหยัดสีด้วย

หรือน้ำมันลินสีดหรือน้ำมันยางผสมชันยาเรือหรือคอนกรีตหรืออะไรที่กันน้ำได้ ก็ได้

13. การทำสี เมื่อผนังแห้งสนิทจริงจึงจะทาสีได้ถ้าทาสีขณะที่ผนังไม่แห้งบางครั้งอาจเกิด ราขึ้นได้สีของบ้านดินนอกจากจะทำให้สวยงามตามต้องการแล้วยังมีหน้าที่ทำให้ ผนังแข็งขึ้นและไม่มีฝุ่นร่อนออกมาด้วย สีที่ใช้กับบ้านดินมีหลายชนิดแต่ที่นิยมใช้กันมากก็คือสีที่ได้จากดิน ดินมีสีให้เราเลือกได้มากมาย เช่นสีแดง ชมพู เหลือง ม่วง เทา ส้ม ขาวเป็นต้น แล้วเรายังเอาสีเหล่านี้มาผสมกันอีกเพื่อให้ได้สีอื่นๆเพิ่มขึ้นได้อีกด้วย ดินแต่ละที่จะมีสีที่ต่างกัน ถ้าขุดลึกลงไปต่างระดับกันก็จะได้สีดินที่ต่างกันด้วย

การทำสีดิน เมื่อได้สีที่ชอบมา เอามาแช่น้ำให้ละลายแล้วร่อนด้วยมุ้งเขียวหรือตะแกรงถี่ๆเพื่อให้ได้ เนื้อที่ละเอียดที่สุด เสร็จแล้วตั้งไว้ประมาณสองวันหรือจนตกตะกอน รินน้ำใสๆออกทิ้งแล้วเก็บเดินที่เป็นเลนไว้ใช้ จากนั้นไปหาทรายละเอียดมากๆ ชึ่งจะหาได้ตามข้างถนนที่น้ำชัดมากองรวมกันหรือบางแห่งจะมีแหล่งทรายแบบนี้ เยอะ เอามาร่อนผ่านตะแกรงเหมือนกันจากนั้นก็หา ตัวที่จะทำเป็นกาว จะเป็นแป้งมันหรือแป้งข้าวเหนียวหรือแป้งข้าวสาลีก็ได้ วิธีทำแป้ง คือต้มน้ำ 13 ลิตรให้เดือด แล้วผสมแป้งครึ่งกิโลกับน้ำเย็นหนึ่งลิตรให้ละลายดีแล้วเทลงในน้ำที่เดือด อยู่ คนเร็วๆจนใสก็ใช้ได้

สูตรผสมสี ดินสีที่ร่อนแล้ว 1 ส่วน
- ทรายละเอียดที่ร่อนแล้ว 3 ส่วนขึ้นไป
- แป้งมันหรือแป้งอื่นๆที่ต้มแล้วใส่ให้เหลวตามต้องการ ส่วนนี้ถ้าหาหากาวลาเท็กราคาถูกได้ก็ใช้ได้ดีมาก


นำส่วน ผสมทั้ง 3 อย่างมาผสมกัน ทำให้เหลวข้นเหมิอนสีทาบ้านทั่วๆไปโดยใช้แป้งเปียกหรือกาวปรับความเหลวความ ข้นตามต้องการ แล้วใช้ทาได้เลยการทาสีจะใช้แปรงเหมือนทาสีทั่วๆไปก็ได้แต่ส่วนมากจะใช้ อุ้งมือตักสีแล้วค่อยๆลูบขึ้นตามผนัง

สีสูตรนี้ใช้ได้ดีสำหรับภายใน หรือส่วนที่ไม่ถูกฝนเท่านั้นซึ่งถ้าไม่โดนความชื้นเลยก็จะอยู่ได้นานมากกว่า 10 ปี แต่ถ้าถูกฝนหรือโดนน้ำนานๆก็จะพองและกะเทาะออกง่าย สีสูตรนี้ใช้ได้กับไม้และผนังคอนกรีตด้วย

ส่วนที่มีโอกาสโดนน้ำมีทางเลือกดังนี้

1. ปูนขาว ใช้ปูนขาวแช่น้ำประมาณหนึ่งสัปดาขึ้นไปแล้วกรองเอาส่วนที่ ละเอียดที่สุดตั้งไว้ปล่อยให้ตกตะกอนคืนหนึ่งเทน้ำใสๆออกก็จะได้ปูนขาวที่ เป็นโคลนมีเนื้อละเอียดมากนำส่วนนี้หนึ่งส่วนผสมกับทรายละเอียดที่ได้จาก ข้างถนนที่มีเนื้อละเอีอดมากๆและร่อนดีแล้วสองส่วนขึ้นไปเติมน้ำปรับความข้น ได้แต่เติมแป้งเปียกไม่ได้เพราะส่วนมากจะเกิดการแยกตัวเหมือนนมผสมน้ำส้ม หรือเหมือนเวลาทำเต้าฮู้

2. ขี้ผึ้งหรือพาราฟิน ต้มขี้ผึ้งหรือพาราฟินหนึ่งส่วนให้ละลาย เติมน้ำมันพืชหรือน้ำมันสัตว์อย่างน้อยสี่ส่วน ขึ้นไปต้มต่อไปจนเดือดแล้ว ใช้แปรงทาสีทาผนังในขณะที่ร้อน หลังจากทาด้วยขี้ผึ้งหรือพาราฟิน ผนังจะเป็นมันเงา และสีจะคล้ำกว่าเดิม แต่จะปกป้องผนังจากความชื้นได้ดี

3. น้ำมันลินสีด ถ้าใช้น้ำมันลินสีดแท้ทาผนังจะทำให้ ผนังแข็งและกันน้ำไ ด้ดีมาก เคยมีคนทำอ่างอาบน้ำด้วยดิน แล้วทาด้วยน้ำมันลินสีด 6 ครั้ง จากนั้น ก็เปิดน้ำใส่เข้าไปนอนแช่ได้สบาย ถ้าใช้กับผนังภายนอกหรือส่วนที่ถูกน้ำบ่อยๆจะดีมาก ปัญหาคือบ้านเราน้ำมันลินสีด แท้แพงมากเกินไปและหาชื้อยากด้วยแต่น้ำมันลินสีดผสมก็พอหาซื้อได้ตามร้านขาย สีทั่วไป ราคาก็ยังแพงอยู่คุณภาพก็พอใช้ได้ ไม่ถือว่าดีมากเขาผสมน้ำมันชักแห้งมากเกินไป ถ้าใช้ทาผนังทาเพียงครั้งเดียวก็พอ

4. น้ำยางพารา มีการทดลองใช้ยางพำรา ผสมกับแอมโมเนียมคลอไรด์ แล้วนำมาผสมกับดินฉาบทาผนังทำพื้นดิน ทำหลังคาดินในเบื้องต้นใช้ได้ดีมากแต่ในระยะยาวยังไม่รู้ ต้องรอดูกันต่อไป เพราะกำลังอยู่ในขั้นทดลองใช้ ราคาก็แพงบ้าง แต่อีกไม่นานราคาจะถูกลงเพราะคนปลูกยางกันเยอะมาก

5. ปูนซีเมนต์ ใช้ปูนวีเมนต์ 20% ผสมกับดินฉาบผนังจะทำให้แข็งกันการกัดเซาะได้ดี ถ้าใช้ซีเมนต์ฉาบเหมือนฉาบปูนก็ทำได้ แต่จะเกิดรอยร้าวได้ง่ายกว่าใช้ซีเมนต์ผสมดินเพราะการขยายตัวของดินกับ ซีเมนต์ต่างกันจะทำให้เกิดการแยกตัวหรือเกิดรอยร้าวได้ง่าย

6. สีน้ำมันหรือวัสดุกันน้ำต่างๆ ก็สามารถใช้ได้ถ้าไม่รังเกียจสิ่งที่เป็นเคมี ใช้ทาตามคำแนะนำของผลิตภัณเหล่านั้นได้เลย

ความกังวลเรื่องการหายใจของผนังหรือความกลัวว่าความชื้นในผนังจะผ่านออกมาไม่ได้นั้น ความเป็นมา เกิดขึ้นที่ รัฐนิวเม็กซิโก ประเทศ อเมริกา เมื่อหลายปีมาแล้ว รัฐนี้ได้ออกกฎหมายให้อาคารบ้านเดินทั้งหลาย ใช้ซีเมนต์ฉาบผนัง ไม่กี่ปีต่อมาปรากฏว่า ผนังต่างๆเริ่มผุพังอย่างรวดเร็ว รวมทั้งผนังโบสถ์และบ้านเรือนที่มีอายุหลายร้อยปี จากนั้นผู้คนก็เริ่มฝ่าฝืนกฎหมายโดยลอกผนังคอนกรีตออก แล้วฉาบด้วยดินเหมือนเดิม ทำให้ปัญหาผ

 

อิฐ ราคาอิฐ อิฐแดง อิฐมอญ อิฐอยุธยา อิฐโบารณ อิฐรู อิฐตัน อิฐก่อ


การใช้อิฐในงานก่อสร้างในประเทศไทยนับตั้งแต่ยุคสมัยสุโขทัยเป็นต้นมา จากหลักฐาน ทางประวัติศาสตร์ ซากสิ่งก่อสร้างในสมัยสุโขทัยบางส่วนมีการใช้อิฐเป็นส่วนประกอบร่วมกับ การใช้ศิลาแลง จากซากปรักหักพังของอาคาร วัดวาอาราม ในสมัยสุโขทัย พบว่าอิฐที่ผลิตในสมัย นั้นมีความคงทนมาเกือบ 1000 ปี ซึ่งนับว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก และพบว่ารูปทรงของอิฐใน สมัยสุโขทัยไม่แตกต่างไปกว่าอิฐของขอม และทวาราวดี หากแต่การนำมาใช้งานค่อนข้างแตกต่าง ไปบ้าง คือ มีการนำอิฐมาก่อเป็นองค์พระพุทธรูป เพื่อพอกปูนขาวปั้นให้เกิดเป็นรูปทรงที่งดงามอีก ทีหนึ่ง

อิฐที่ทำขึ้นในสมัยสุโขทัยนั้น มีขนาดกว้างประมาณ 13 เซนติเมตร และยาวประมาณ 30 เซนติเมตรซึ่งนับว่าใหญ่กว่าอิฐที่ทำกันในสมัยปัจจุบันมาก ิ

การสร้างเมืองใหม่ในสมัยอยุธยา ทำให้อิฐมีความจำเป็นมากมีการสร้างอาคาร บ้านเรือน วัด และพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ตลอดเวลา การก่อสร้างแต่ละครั้งก็จำเป็นต้องใช้อิฐเป็นจำนวน มากจึงต้องมีการเร่งทำอิฐกันอย่างรีบด่วนทำให้ความรู้ในเรื่องการทำอิฐกระจายไปในหมู่ประชาชน ทั่วไปในวงกว้าง และความรู้เหล่านั้นก็ได้ตกทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

ในอดีตเกิดภาวะขาดแคลนอิฐอย่างรุนแรงเกิดขึ้นในสมัยรัตนโกสินทร์ เมื่อมีการย้ายพระ นครมาอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา หลังจากการกอบกู้อิสรภาพครั้งที่ 2 ของพระบาท สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ต้องขนอิฐจากวัดเก่าแก่ที่หักพังเพราะสงครามที่จังหวัดพระนคร ศรีอยุธยาบรรทุกลงเรือล่องมาใช้ในการก่อสร้างพระนครใหม่

ประวัติศาสตร์ของอิฐในประเทศไทย หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะกล่าวถึงช่วงตอนสำคัญของอิฐที่ ได้เปลี่ยนบทบาทจากงานหลวงมาสู่งานราษฎร์ หรืองานที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ในการประกอบอาชีพ

ชาวมอญซึ่งเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารพระมหากษัตริย์ไทยในอดีตและรับสั่งให้ตั้ง บ้านเรือน อยู่กันตามชายฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณปากเกร็ด ปทุมธานี เป็นชนกลุ่มแรกที่เริ่มงานทำ อิฐขึ้นแล้วนำออกมาขายตามท้องตลาด โดยใช้วัตถุดิบที่มีอยู่รอบ ๆ ตัวนั่นเอง เล่ากันว่าดินที่ใช้ใน การทำอิฐได้มาจากใต้แม่น้ำเจ้าพระยา โดยดำลงไปงมขึ้นมาผสมกับแกลบ ซึ่งมาจากกรรมวิธีการสี ข้าวสารออกไปแล้ว จากนั้นก็นำมาตากแดดจนแห้งสนิท แล้วจึงนำไปเผาให้แข็งแกร่งบรรทุกออก เร่ขาย

ความนิยมในการก่อสร้างอาคาร บานเรือนของคนทั่วไปที่ค่อนข้างมีฐานะร่ำรวย ด้วยการ ก่ออิฐถือปูนทำให้อิฐซึ่งออกเร่ขายโดยชาวมอญเป็นที่รู้จักแพร่หลายกว้างไกลออกไปด้วย พร้อมกับ คำว่า อิฐมอญ ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายว่า อิฐที่ขายและทำโดยคนมอญ ก็นิยมติดปากควบคู่กันไป ทำให้เกิดความเข้าใจในหมู่ประชาชนว่าอิฐไทยหรืออิฐที่ทำด้วยดินแกลบ แล้วนำไปเผาไฟนี้มีชื่อ ว่าอิฐมอญ